วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีการศึกษา


ความหมายของทคโนโลยีารศึกษา


คำว่า "เทคโนโลยี”(Technology) มาจากรากศัพท์ "Technic" หรือ "Techno" ซึ่งมีความหมายว่า วิธีการ หรือการจัดแจงอย่างเป็นระบบ รวมกับ "logy" ซึ่งแปลว่า ศาสตร์หรือ วิทยาการดังนั้น คำว่า "เทคโนโลยี" ตามรากศัพท์จึงหมายถึง ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการหรือศาสตร์ที่ว่าด้วยการจัดการ หรือการจัดแจงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์หรือเจตนารมณ์ที่ตั้งใจไว้ได้ ซึ่งก็มีความหมายตรงกับความหมายที่ป

รากฏในพจนานุกรม คือ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการจัดแจงหรือการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างมโนมติของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพทางวิศวกรรมและทางเคมีได้เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์ สามารถผลิตหนังสือตำราต่างๆ ได้ และจากการประยุกต์หลักพฤติกรรมศาสตร์ทางจิตวิทยา จิตวิทยาการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้และหลักความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้ได้เนื้อหาในลักษณะเป็นโปรแกร

มขั้น ย่อย ๆ จากง่ายไปหายาก เมื่อรวมกันระหว่างวิทยาศาสตร์กายภาพและพฤติกรรมศาสตร์ในตัวอย่างนี้ ทำให้เกิดผลิตผลทางเทคโนโลยีการศึกษาขึ้น คือ "ตำราเรียนแบบโปรแกรม"

เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญและมีความจำเป็นที่เด่นชัดในปัจจุบันนี้ คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการศึกษาด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้

1. ความเจริญอย่างรวดเร็วทางด้านวิชาการต่างๆ ของโลก โ

ดยเฉพาะระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา วิทยาการใหม่ ๆ และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้ถูกค้นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในสังคมมากมายเป็นทวีคูณ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา และส่งผลเป็น

ลูกโซ่ต่อไปถึงปัญหาการเรียนการสอน การเลือกโปรแกรมและการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระใหม่ๆ ของนักเรียน ความรุนแรงและความสลับซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริม

าณเนื้อหาวิชาการใหม่ ๆ มีมากมายเกินความสามารถของผู้เกี่ยวข้อง จะเลือกบันทึกจดจำและนำเสนอในลักษณะเดิมได้ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์เข้ามาช่วย เช่น การเสนอข้อมูลทางวิชาการโดยเทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ ไมโครฟอร์ม และแผ่นเลเซอร์ การแนะแนวการเรียนโดยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้ว มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต การปรับตัว และพัฒนาการของนักเรียน การแนะแนวส่วนตัวและสังคมแก่นักเรียน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ จึงจะสามารถให้บริการครอบคลุมถึงปัญหาต่าง ๆ ได้

3. ลักษณะสังคมสารสนเทศหรือสังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็น

ผลมาจากพัฒนาการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้ข่าวสารทุกรูปแบบ คือ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟฟิก และข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถถ่ายทอดและส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็วทุกมุมโลก สังคมในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นสังคมที่ท่วมท้นด้วยกระแสข้อมูลและข่าวสาร

ข้อมูลและข่าวสารจำนวนมหาศาลจะอยู่ที่ความต้องการของผู้ใช้อย่างง่ายดายมาก ความจำเป็นที่สถานศึกษาจะต้องเป็นแหล่งให้ข้อมูลข่าวสารจะหมดความสำคัญลง การแนะแนวในสถานศึกษาจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการทำตัวเป็นแหล่งให้ข้อมูลมาเป็นการแนะแหล่งข้อมูล แนะนำการเลือกและการใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบทบาทอย่างนี้จะทำให้สำเร็จได้ย

ากหากไม่สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชื่อมต่อกับระ

บบสารสนเทศในปัจจุบัน


แผนภูมิแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษา

แนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษาจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 กลุ่ม คือ การออกแบบ(design) การพัฒนา (Development) การใช้(utilization)การจัดการ (management)และการประเมิน(evaluation)ซึ่งแต่ละกลุ่มจะโยงเข้าสู่ศูนย์กลางของทฤษฏีและปฏิบัติดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นผสมผสานกันระหว่างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นการประยุกต์เอาแนวคิดความคิด เทคนิค วิธีการ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ อันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษานั้นเอง


พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาในยุคต่างๆ

การพัฒนาการการศึกษาที่ถือว่าเป็นเทคโนโลยีการศึกษาในอดีต เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลาดังนี้คือ

1)ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกจนถึงปี ค..1700

การศึกษาช่วงเวลาดังกล่าวมีการพัฒนาการที่ช้ามาก การจัดการเรียนการสอนอยู่ในกลุ่มคนเล็ก ๆ การสื่อสารยังไม่เจริญ การจัดการศึกษาและพัฒนาการศึกษามีดังนี้

1. เทคโนโลยีการศึกษาของกลุ่มโซฟิสต์

ในตอนปลายของศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชนั้น มีกลุ่มนักการศึกษากลุ่มเล็ก ๆ ที่เรียกได้ว่าเป็นครูรับจ้างสอนตามบ้านในกรุงเอเธนส์ กรีกโบราณ และเป็นที่รู้จักในนามของกลุ่ม Elder Sophist คำว่า Sophist หรือ Sophistes ในยุคนั้น (450- 350 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้รู้ ซึ่งในกลุ่มนี้มีผู้รู้ที่เป็นที่รู้จักกันดีอยู่ 5 คน คือ โปรตากอรัส, จอจิแอส, โปรดิคอส, ฮิปเปียส และทราซีมาคัส ซึ่งบางทีอาจจะเรียกได้ว่าเป็นนักเทคโนโลยีทางการศึกษากลุ่มแรกก็ได้

รูปแบบการสอนของกลุ่มโซฟิสต์มี 3 ขั้นตอนคือ

- เตรียมคำบรรยายอย่างละเอียด

- เปิดโอกาสให้ผู้ฟังเสนอแนะให้บรรยายในสิ่งที่เขาต้องการรู้

- บรรยายตามความต้องการของผู้บรรยายหรือผู้ฟัง

หลักการนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพูดในที่สาธารณะ (Public Lecture) และนอกจากนั้นกลุ่มโซฟิสต์ยังได้ใช้ระบบการพบปะสนทนากับผู้เรียน (Tutorial System) เพื่อสร้างสัมพันธ์กับ ผู้เรียนด้วย ลักษณะการแบบนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มของการสอนแบบมวลชน (Mass Instruction) ได้เช่นกัน

2.เทคโนโลยีการศึกษาของโสเครติส (..399-470)

โสเครตีส เพลโตและเซโนฟอนลูกศิษย์ของเขาได้ทำการบันทึกวิธีการสอนของเขาไว้ วิธีการของโสเครติสแตกต่างไปจากวิธีการของกลุ่มโซฟิสต์ที่ได้กล่าวถึงมาแล้วมาก วิธีการสอนของโสเครติส ที่อธิบายไว้ใน Plasto's Meno นั้น มุ่งที่จะสอนให้ผู้เรียนเสาะแสวงหรือสืบเสาะหาความรู้ที่เหมาะสมเอง จากการป้อนคำถามต่าง ๆ ที่เป็นการชี้แนะแนวทางให้ผู้ตอบได้ข้อคิด วิธีการของ โสเครติสนี้อาจจะเทียบได้กับวิธีการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)

3. เทคโนโลยีการศึกษาของอเบลาร์

ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ยุโรปเริ่มตื่นตัวในเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบมีสถานศึกษาหรือโรงเรียน ซึ่งนับว่าเป็นวิธีใหม่แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนถึงกับการให้สิทธิแก่ผู้สอนตั้งโรงเรียนในโบสถ์หรือวัดได้ ในบรรดาผู้สอนในโรงเรียนทั้งหมด อเบลาร์ด (..1079-1142) เป็นบุคคลตัวอย่างที่ดีคนหนึ่ง อเบลาร์ด สอนที่ Notre Dame ซึ่งเป็นโรงเรียนวัดในระหว่างปี ค..1108-1139 ต่อมาโรงเรียนนี้ได้ยกฐานะเป็น The University of Paris เมื่อ ค..1180 เขาได้ฝึกนักเรียนของเขา โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ตรรกศาสตร์ของอริสโตเติล ซึ่งเขาได้เขียนไว้ในหนังสือ Sic et Non (Yes and No) อันเป็นหนังสือที่แสดงให้เห็นถึงวิธีสอนของเขา ซึ่งเขาให้แง่คิดและความรู้ ทั้งหลายแก่นักเรียนโดยการเสนอแนะว่าอะไรควร (Yes) และอะไรไม่ควร (No) บ้างเสร็จแล้ว นักเรียนจะเป็นผู้ตัดสินใจและสรุปเลือกเองอย่างเสรีวิธีสอนของอเบลาร์ด มีอิทธิพลโดยตรงต่อ Peter Lombard (..1100-1160) และ St. Thomas Aquinas (1225-1274) ซึ่งเขาทั้งสองได้นำแนวคิดของอเบลาร์ด มาปรับปรุงใช้ในการเรียนการสอน โดยการระมัดระวังเทคนิคการใช้คำถามให้รัดกุมขึ้น

4.เทคโนโลยีทางการศึกษาของคอมินิอุส

Johann Amoss Cominius (1592-1670) เกิดในครอบครัวโปรเตสแตนท์ ฐานะปานกลางในโมราเวีย (ปัจจุบันอยู่ในเชคโกสโลวาเกีย) สำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในเยอรมันนี คอมินิอุส ได้ใช้ชีวิตในฐานะนักบวชและครูอยู่ในโปแลนด์ ฮังการี สวีเดน อังกฤษ และฮอลแลนด์ จนกระทั่งเกิดสงคราม 30 ปี (Thirty Years' War, 1618-1648) ระหว่างคาทอลิค และโปรเตสแตนท์ ชื่อเสียงของคอมินิอุส ในฐานะนักการศึกษาผู้ยิ่งใหญ่ ได้เริ่มต้นที่เมืองลิสซาในประเทศโปแลนด์ เมื่อ ปี ค..1627 ในขณะที่เขาเป็นนักบวชและครูอยู่ที่นั่น โดยการเขียนหนังสือสำคัญขึ้นมาหลายเล่ม และต่อมาเขาได้เป็นผู้ร่างหลักสูตรการศึกษาในฮอลแลนด์ และสวีเดน ตลอดจนสร้างโรงเรียนตัวอย่างขึ้นในฮังการีด้วย หนังสือ Great Didactic เป็นหนังสือสำคัญที่สุดเกี่ยวกับเทคนิคการสอนของ คอมินิอุส (แนวคิดเกี่ยวกับระบบการสอนของคอมินิอุสได้เริ่มเกิดขึ้นที่เมือง Leszne ประเทศโปแลนด์ โดยเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเป็นภาษา Czech พิมพ์ครั้งแรกในเยอรมัน เมื่อปี ค..1633 และพิมพ์เป็นภาษาลาตินในปี ค..1657) จุดมุ่งหมายทางการศึกษาของคอมินิอุส คือ ความรู้ คุณธรรม และความเคร่งครัดในศาสนา เขาเชื่อมั่นว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำหรับเตรียมคนเพื่อดำรงชีพอยู่อย่างเป็นสุขมากกว่าที่จะให้การศึกษาเพื่อมีอาชีพหรือตำแหน่ง และนอกจากนั้น คอมินิอุสยังมุ่งหวังที่จะให้การศึกษาเพื่อสังคมมากกว่าที่จะเน้นเรื่องความสามารถเฉพาะ ดังนั้นเพื่อให้จุดหมายทางการศึกษาของเขาสัมฤทธิ์ผล คอมินิอุส จึงจัดระบบการศึกษาเป็นแบบเปิด สำหรับทุก ๆ คน นับตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัย ในบรรดาหลักการสอนของคอมินิอุสทั้งหลาย พอสรุปเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

1.การสอนควรจะเป็นไปตามธรรมชาติ เนื้อหาวิชาควรจะเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนแต่ละคน

2.ควรสอนผู้เรียนตั้งแต่เยาว์วัย โดยให้เหมาะสมกับ อายุ ความสนใจ และสมรรถภาพของผู้เรียนแต่ละคน

3.จะสอนอะไรควรให้สอดคล้องกับชีวิตจริง และสอดแทรกค่านิยมบางอย่างให้แก่ผู้เรียนด้วย

4.ควรสอนจากง่ายไปหายาก

5.หนังสือและภาพที่ใช้ความสัมพันธ์กับการสอน

6.ลำดับการสอนที่เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ไม่ควรสอนภาษาต่างประเทศก่อนสอนภาษามาตุภูมิ

7.ควรอธิบายหลักการทั่วไปก่อนที่จะสรุปเป็นกฎ ไม่ควรให้จดจำอะไรโดยที่ยังไม่เข้าใจในสิ่งนั้น

8.การสอนเขียนและอ่าน ควรสอนร่วมกัน นั่นก็หมายความว่าเนื้อหาวิชาที่เรียนควรสัมพันธ์กันเท่าที่จะทำได้

9.ควรเรียนรู้โดยผ่านทางประสาทสัมผัส โดยสร้างความสัมพันธ์กับคำ

10.ครูเป็นผู้สอนเนื้อหา และใช้ภาพประกอบเท่าที่ทำได้

11.สิ่งต่าง ๆ ที่จะสอนต้องสอนไปตามลำดับขั้นตอนและในการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ควรให้มากกว่าหนึ่งอย่าง

12.ไม่ควรมีการลงโทษเฆี่ยนตีถ้าผู้เรียนประสบความล้มเหลวในการเรียน

13.บรรยากาศในโรงเรียนต้องดี ประกอบด้วยของจริง รูปถ่าย และครูที่มี ใจโอบอ้อมอารี

จากหลักการสอนคอมินิอุสที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าคอมินิอุส เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีการศึกษาและการสอนสมัยใหม่ ตัวอย่างหลักการสอนที่สำคัญอย่างหนึ่งของคอมินิอุส เราจะเห็นได้จากหนังสือ Orbus Pictus ของเขา หนังสือออบัส พิคตุส หรือโลกในรูปภาพ พิมพ์ที่เมือง Nurenberg เมื่อปี ค..1658 สำหรับเด็ก ๆ ที่เรียนลาตินและวิทยาศาสตร์ จัดว่าเป็นแบบเรียนเล่มแรกที่มีภาพประกอบบทเรียนมากถึง 150 ภาพ โดยภาพหนึ่ง ๆ จะใช้สำหรับบทเรียนบทหนึ่งโดยเฉพาะ เนื้อหาในหนังสือนี้ได้แก่ พระเจ้า โลก อากาศ ต้นไม้ มนุษย์ ดอกไม้ พืชผัก โลหะ และนก เป็นต้น หนังสือ ออบัส พิคตุส เป็นที่นิยมใช้ติดต่อกันมาอีกหลายร้อยปีและปรากฏว่า เมื่อปี ค..1810 หนังสือนี้ยังมีการซื้อขายกันอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น